Lastest update
วิศวฯ จุฬาฯ สู้ COVID-19
ร่วมสร้างสังคมแห่งองค์ความรู้และนวัตกรรม
เมื่อชุด coverall และ หน้ากาก N95 ขาดแคลน วิศวฯ จุฬาฯ จึงขออาสาพัฒนา เพื่อให้บุคลาการทางการแพทย์ซึ่งเป็นด่านหน้าที่ต้องรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้มีอุปกรณ์ป้องกันที่มีคุณภาพ ใส่สบายเวลาทำงาน และป้องกันเชื้อได้
วิทยากร
・รศ.ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน
ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวฯ จุฬาฯ
・รศ.ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์
รองคณบดีฝ่ายวิจัย และอาจารย์ประจำภาค
วิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวฯ จุฬาฯ
ผู้ดำเนินรายการ
ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล


การฆ่าเชื้อบนปริญญาบัตรด้วยการฉายรังสีเอกซ์ เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาฯ
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อบนปริญญาบัตรด้วยการฉายรังสีเอกซ์ ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการทำความสะอาดปริญญาบัตร เพื่อสร้างความมั่นใจ เตรียมความพร้อมตามมาตรการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และกำจัดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

วิศวฯ จุฬาฯ ตรวจสอบและฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยเพื่อใช้ซ้ำสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ขณะนี้ หน้ากากอนามัย มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับอาจารย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาตรวจสอบคุณภาพและฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถนำกลับมาใช่ซ้ำได้อย่างปลอดภัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับหลายหน่วยงาน สร้างฐานข้อมูลสำหรับตรวจสอบหน้ากาก N95และทดสอบการใช้รังสีUVCฆ่าเชื้อบนหน้ากาก
หน้ากาก N95 ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับหลายหน่วยงาน ศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของหน้ากากแต่ละชั้นของแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็มีลักษณะเส้นใยที่แตกต่างกัน เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลนำไปตรวจสอบได้ว่าหน้ากากที่นำมาบริจาคให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ เป็นของจริงและมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสได้หรือไม่